วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

การแก้ปัญหาความร้อนจากหลังคา



วิธีป้องกันความร้อนจากหลังคาเข้าสู่พื้นที่พักอาศัย สามารถทำได้ดังนี้

                     1. ใช้หลักการพาความร้อนด้วยวิธีธรรมชาติ ตามปกติธรรมชาติของอากาศร้อนซึ่งมีน้ำหนักเบาจะลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงเสมอ ในเวลากลางวันอากาศร้อนนี้จะพากันไปสะสมอยู่ในบริเวณช่องว่างใต้หลังคาเป็น จำนวนมาก เพื่อรอให้กระแสลมพัดพาเอาความร้อนนี้ถ่ายเทออกไป ดังนั้นการดัดแปลงที่เหมาะสม คือ การสร้างช่องระบายอากาศให้กับหลังคา ซึ่งวิธีง่ายๆ ด้งนี้

             - การดัดแปลงฝ้าใต้ชายคาทั้งหน้าบ้านและ หลังบ้านให้เป็นชนิดรูพรุน เพื่อช่วยระบายอากาศ ซึ่งปัจจุบันมีจำหน่ายในท้องตลาดเป็นกระเบื้องแผ่นเรียบชนิดรูพรุน

            - เพิ่มหน้าจั่วให้กับหลังคา โดนยทำแผงหน้าจั่ว (หน้าบัน) เป็นบานเกล็ดไม้ระบายอากาศ

  
- เพิ่มลูกหมุนระบายอากาศบนหลังคาด้านหลังบ้าน หรือด้านที่มองไม่เห็น
2. การสะท้อนความร้อนมิให้ผ่านเข้ามาทางหลังคา ด้วยการทาหรือพ้นสีสะท้อนความร้อน ซึ่งมีส่วนผสมของสารประเภทเซรามิกเคลือบผิวหน้ากระเบื้อง วิธีนี้เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ตรงจุดที่สุด นั่นคือ สกัดกั้นความร้อนมิให้ผ่านทะลุหลังคาเข้ามา แต่วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง จึงไม่นิยมทำในบ้านพักอาศัย

3. การสกัดกั้นหรือลดทอนความร้อนที่ผ่านจากหลังคามิให้เข้าสู่พื้นที่ใช้สอย ซึ่งทำได้หลายวิธี ดังนี้

- การฉีดพ่นฉนวนประเภทโฟมใต้หลังคา

- การติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อน (foil) เหนือฝ้าเพดาน

- การติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อน (foil) พร้อมฉนวนใยแก้วเหนือฝ้าเพดาน เพื่อลดการแผ่รังสีความร้อน
 4. สำหรับทาว์วเฮ้าส์ที่มีดาดฟ้าเป็นพื้นคอนกรีต ซึ่งเป็นตัวดูดซับความร้อน และแผ่รังสีความร้อนสู่พื้นที่ใช่สอยอย่างมาก วิธีแก้ไขที่ประหยัดที่สุดก็คือ ตั้งเสาเหล็กสูงประมาณ 2.20 เมตรขึ้นสี่มุม (รอบพื้นที่) แล้วใช้ลวดหรือเชือกไนลอนขึงตาข่ายกรองแสงสีเขียว (ซาแรน) คลุมพื้นที่ เพื่อให้ร่มเงาแก่ดาดฟ้า ซึ่งจะช่วยลดทอนความร้อนได้มากกว่า 60 % และเคล็ดลับสุดท้ายก็คือ ก่อนใช้พื้นที่ห้องชั้นบนทุกครั้งควรเปิดประตูหน้าต่างห้องทั้วหมดทิ้งไว้ ไม้น้อยกว่า 1 ชั่วโมง เพื่อให้กระแสลมค่อยๆพัดพาความร้อนที่สะสมไว้ออกไป ด้วยวิธีนี้สามารถประหยัดพลังงงานเครื่องปรับอากาศได้ไม่น้อยกว่า 20 %
ข้อมูลนี้นำมาจาก หนังสือ "ทาวน์เฮ้าส์" ของสำนักพิมพ์บ้านและสวน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น