วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

การออกแบบบ้านไม่ให้ร้อน

การออกแบบบ้าน-อาคาร
ที่เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อม
 

ที่มา ..เอกสารเผยแพร่ชุด
สาระน่ารู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานคณะกรรมการ  นโยบายพลัง งานแห่งชาติ  ผู้เขียน จินดา  แก้วเขียว และ คณะ รวบรวมโดย ศูนย์อนุรักษ์  พลังงานแห่งประเทศไทย

การออกแบบบ้าน อาคารที่เหมาะสมในภูมิอากาศแบบเมืองไทย
ในสภาพภูมิอากาศที่ร้อนชื้นแบบเมืองไทย เราควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมและปรับปรุงสภาพแวดล้อม บริเวณที่ตั้งอาคาร เพื่อให้เกิดผลดีที่สุดต่อการประหยัดพลังงาน และควรออกแบบโดยพิจารณาดังนี้

หลังคา
การออกแบบหลังคาจะต้องคำนึงถึงการป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่จะถ่ายเทเข้าอาคารโดยการนำความร้อน ซึ่งทำได้โดยการวัสดุที่มีค่าความต้านทานความร้อนสูงเช่นหลังคาจากหลังคาไม้ หรือใช้วัสดุที่มีผิวมัน วัสดุที่มีผิวโทนสีขาวจะสามารถสะท้อนแสงอาทิตย์ได้ดี ทำให้อุณหภูมิของหลังคาลดลง


การใส่ฉนวนกันความร้อน                                                              
เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถป้อง กันการนำความร้อนผ่านหลังคาเข้าอาคารได้โดยตรง ในกรณีที่ฉนวนกันความร้อนมีแผ่นฟอยด์ที่มีผิวมันบุอยู่ควรเอาด้านที่มีแผ่นฟอยด์ขึ้นด้านบนเพื่อให้ผิวมันของแผ่นฟอยด์ช่วยสะท้อนรังสีความร้อนจากหลังคา


การระบายอากาศใต้หลังคา
เป็นวิธีลดความร้อนที่จะถ่ายเทเข้าอาคารได้ อาคารที่มีลักษณะเป็นจั่วสูง หรืออาคารที่มีช่องว่าง อากาศใต้หลังคาเปรียบเสมือนกับเป็นฉนวนความร้อนอยู่แล้ว ยังช่วยเพิ่มการระบายอากาศใต้หลังคาได้อีกด้วย

การลดพื้นที่รับแสง                                                   
หรือหลีกเลี่ยงการรับแสงโดยตรงทำได้โดย อาศัยการบังเงาจากภายนอกอาคารเช่น การปลูกต้นไม้ให้ร่มเงาแก่หลังคา การใช้อุปกรณ์บังแดดบังหลังคา หรือการใช้หลังคาสองชั้น เป็นต้น  ซึ่งจะช่วยลดความแตกต่างของอุณหภูมิผิวหลังคาด้านนอกและด้านใน
ผนัง
เป็นส่วนของกรอบอาคารอีกส่วนหนึ่งที่ความร้อนจากแสงอาทิตย์ถ่ายเทเข้าอาคารโดยการนำความร้อน อาคารขนาดเล็กจะได้รับผลกระทบจากการนำความร้อนผ่านผนังอาคารมากกว่าอาคารขนาดใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ใช้งานของอาคารขนาดเล็กจะอยู่ใกล้กับผนังอาคารมากกว่าอาคารขนาดใหญ่
ควรเลือกวัสดุที่มีค่าความต้านทานความร้อนสูงมาใช้ทำผนังอาคาร จะช่วยลดปริมาณความร้อนที่ถ่ายเทเข้าอาคารได้มาก เช่น การใช้จาก ไม้ หรือผนังเบา  การเพิ่มช่องว่างอากาศ และการบุฉนวนกันความร้อนให้กับผนังอาคารที่มีประสิทธิภาพการต้านทานความร้อนต่ำ เป็นวิธีที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการต้านทานความร้อนของอาคารให้สูงขึ้น


การใช้ประโยชน์จากมวลของผนัง (Thermal Mass)
สำหรับอาคารขนาดใหญ่ที่มีบริเวณผนังของอาคารหนามากๆ เช่น แกนอาคาร (Core) หรือช่องลิฟท์ ควรจัดให้อยู่ในทิศทางที่ต้องรับแสงอาทิตย์ในช่วงบ่าย เช่น ทิศตะวันตก เนื่องจากผนังอาคารที่เป็นคอนกรีตหนามาก จะต้านความร้อนได้ดี และสามารถหน่วงความร้อนจัดในช่วงบ่าย ไปไว้ในช่วงเย็นที่ไม่มีผู้ใช้อาคารได้ นอกจากนี้แล้วในเวลากลางคืนยังสามารถคายความร้อนได้ดี หรือเก็บรักษาความเย็นไว้ได้มากกว่าซึ่งจะช่วยลดความร้อนในเวลากลางวันได้อีกทางหนึ่งด้วย

การใช้สีอ่อนหรือวัสดุสะท้อนแสงกับผนังด้านนอกของกรอบอาคาร
เพราะสีอ่อนหรือสีโทนสว่าง เช่น สีขาว สีเขียวอ่อน สีเหลืองอ่อน และวัสดุสะท้อนแสงที่มีผิวมันเงาจะช่วยสะท้อนรังสีแสงอาทิตย์ได้ดี
องค์ประกอ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น